พันธะโคเวเลนต์

สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์

•  ส่วนใหญ่มักเป็นสารประกอบระหว่างอโลหะกับอโลหะ

•  มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ

•  ส่วนใหญ่ไม่ละลายในน้ำ แต่ถ้าละลายได้ก็จะไม่นำไฟฟ้า 

ความเป็นขั้วในพันธะโคเวเลนต์

      พันธะโคเวเลนต์ เกิดจากการใช้คู่อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอม 2 อะตอม เช่นไฮโดรเจนกับไฮโดรเจน    ซึ่งเป็นอะตอมชนิดเดียวกัน อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันจะมีการกระจายตัวอยู่อย่างเท่า ๆ กัน ระหว่างอะตอมของไฮโดรเจนทั้งสอง การที่อะตอมของไฮโดรเจนทั้งสองมีส่วนร่วม ในอิเล็กตรอนเท่า ๆ กัน จะเรียกว่า โมเลกุลไม่มีขั้ว ( Non-Polar Molecule ) ในทางตรงข้ามสำหรับอะตอมสองอะตอมที่ไม่เหมือนกัน เช่น ไฮโดรเจนกับคลอรีน ซึ่งเกิดพันธะโคเวเลนต์ได้เช่นกัน มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน แต่การกระจายตัวของอิเล็กตรอนระหว่างอะตอมของไฮโดรเจนกับอะตอมของคลอรีนจะ ไม่เท่ากัน จึงทำให้อะตอมหนึ่งมีสภาพไฟฟ้าลบเล็กน้อย( Partial Negative Charge ) ส่วนอีกอะตอมหนึ่งจะมีสภาพไฟฟ้าบวกเล็กน้อย ( Partial PositiveCharge ) ซึ่งการที่อะตอมของไฮโดรเจนกับอะตอมของคลอรีนมีส่วนร่วมในอิเล็กตรอนไม่เท่า กันจะเรียกว่า โมเลกุลมีขั้ว ( Polar Molecule )

H - H

อะตอมชนิดเดียวกัน เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว อิเล็กตรอนกระจายตัวอยู่เท่า ๆ กัน

H - CI

อะตอมต่างชนิดกัน เป็นโมเลกุลมีขั้ว อิเล็กตรอนกระจายตัวไม่เท่า ๆ กัน

                                                                                                                   

หน้า 1 2 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น