อะตอมหนึ่งจะเป็นตัวให้อิเล็กตรอน ส่วนอีกอะตอมหนึ่งจะเป็นตัวรับอิเล็กตรอน เพื่อให้อะตอม
แต่ละตัวมีจำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุดครบ 8 ทำให้พบว่าอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนมาจะมีประจุ
ไฟฟ้าเป็นไอออนลบ อะตอมที่ให้หรือเสียอิเล็กตรอนไปจะมีประจุไฟฟ้าเป็นไอออนบวก และ
โมเลกุลที่เกิดขึ้นจากพันธะไอออนิกนี้เราจะเรียกว่า สารประกอบไอออนิก (Ionic compound)
ตัวอย่างเช่น พันธะไอออนิกของเกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ (NaCI)
รูปที่ 2.2 แสดงการเกิดสารประกอบไอออนิกโซเดียมคลอไรด์
โซเดียมอะตอม(Na)มีจำนวนอิเล็กตรอน11ตัวมีจำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด1ตัวจึงทำ
ให้มีโอกาสที่จะสูญเสียอิเล็กตรอนตัวนี้ไปได้มาก
เพื่อให้มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเหมือนแก๊ส เฉื่อย (Ne มีจำนวนอิเล็กตรอน 10
ตัว โดยที่จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุดมี 8 ตัว) ดังนั้น เมื่อ
Naมีการสูญเสียอิเล็กตรอนไปจะทำให้ได้ไอออนบวกโซเดียม (Na+)
อิเล็กตรอนหลุดออกไป ดังสมการ Na Na+ + e-
คลอรีนอะตอม (CI) มีจำนวนอิเล็กตรอน 17 ตัว มีจำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด 7 ตัว มีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามาอีก 1 ตัว ซึ่งจะทำให้มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเหมือนแก็ส เฉื่อย (Ar มีอิเล็กตรอน 18 ตัว โดยที่จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุดมี 8 ตัว) ดังนั้น เมื่อ CI ได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มจาก Na จะกลายเป็นไอออนลบคลอไรด์ (CI) ดังสมการ
CI + e- CI -
จะเห็นว่าอะตอมทั้งสองดึงดูดกันด้วยพันธะเคมีแบบไอออนิก ซึ่งมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนจากอะตอมโซเดียมไปยังอะตอมคลอรีน ฝ่ายแรกจะเป็นผู้ให้ ฝ่ายหลังจะเป็นผู้รับ จึงทำให้เกิดเป็นไอออนบวกและไอออนลบที่อยู่ร่วมกันด้วยแรงดึงดูดของไฟฟ้า ต่างประจุ ทำให้
เกิดเป็นสารประกอบไอออนิกโซเดียมคลอไรด์ขึ้นมา ซึ่งเป็นสารที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือด สูงมาก เมื่อเป็นของแข็งจะไม่นำไฟฟ้า แต่ถ้าทำให้หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ การที่โซเดียม คลอไรด์หลอมเหลวนำไฟฟ้าได้เพราะมีไอออนเคลื่อนที่
ตัวอย่างของสารประกอบไอออนิก
LiF AICI 3 CaF 2 NaI MgO
นอกจากนี้ เรายังอาจพบว่าสารประกอบไอออนิกอาจเกิดจากธาตุหลายธาตุมารวมกันก็ได้ เช่น Na2SO4, Mg(NO3)2 , K3PO4 เป็นต้น เมื่อหลอมเหลวจะแตกตัวเป็นไอออนและนำไฟฟ้าเช่น โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) จะกลายเป็นไอออนของโซเดียม (Na+) กับไอออนของซัลเฟต (SO42-)
LiF AICI 3 CaF 2 NaI MgO
นอกจากนี้ เรายังอาจพบว่าสารประกอบไอออนิกอาจเกิดจากธาตุหลายธาตุมารวมกันก็ได้ เช่น Na2SO4, Mg(NO3)2 , K3PO4 เป็นต้น เมื่อหลอมเหลวจะแตกตัวเป็นไอออนและนำไฟฟ้าเช่น โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) จะกลายเป็นไอออนของโซเดียม (Na+) กับไอออนของซัลเฟต (SO42-)
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. ส่วนใหญ่มักเป็นสารประกอบระหว่างโลหะกับอโลหะ
1. ส่วนใหญ่มักเป็นสารประกอบระหว่างโลหะกับอโลหะ
2. มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
3. ในสภาวะปกติจะไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เพราะเป็นของแข็ง
4. เมื่อนำไปละลายน้ำจะแตกตัวเป็นไอออน และสามารถนำไฟฟ้าได้
3. ในสภาวะปกติจะไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เพราะเป็นของแข็ง
4. เมื่อนำไปละลายน้ำจะแตกตัวเป็นไอออน และสามารถนำไฟฟ้าได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น