ทั่วไป เกิดจากการสร้างแรงยึดเหนี่ยวกันระหว่างอะตอม 2 อะตอม โดยอะตอมทั้งสองมีความ
ต้องการที่จะดึงอิเล็กตรอนไว้กับตัวเพื่อให้มีจำนวนอิเกตรอนวงนอกสุดครบ 8 ตัว เหมือนแก๊สเฉื่อย
หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการใช้อิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกันของแต่ละอะตอมในโมเลกุล ซึ่งพันธะ
โคเวเลนต์นี้มักเกิดระหว่างอโลหะด้วยกันเอง ซึ่งแต่ละอะตอมก็ต้องการรับอิเล็กตรอนด้วยกันทั้งคู่
ตัวอย่างเช่น พันธะโคเวเลนต์ของคลอรีน (CI2)
คลอรีน 1 อะตอมจะมีจำนวนวาเลนซ์อิเล็กตรอน 7 ตัว ถ้ามีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกับ
คลอรีนอีก 1 อะตอม จะทำให้มีการใช้อิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกัน เกิดแรงยึดเหนี่ยวหรือพันธะ
ขึ้น โดยคลอรีนตัวแรกมีการดึงอิเล็กตรอนจากคลอรีนตัวที่สองเข้าร่วมอีก 1 ตัว ทำให้คลอรีนตัว
แรกมีจำนวนอิเล็กตรอนล้อมรอบครบ 8 ตัว ในทำนองเดียวกันคลอรีนตัวที่สองก็สามารถถึง
อิเล็กตรอนจากคลอรีนตัวแรกจำนวน 1 ตัว เช่นกัน จึงทำให้คลอรีนตัวที่สองมีจำนวนอิเล็กตรอน
ล้อมรอบครบ 8 ตัว จะเห็นได้ว่ามีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งสามารถแสดงด้วยโครงสร้างแบบ
จุดและโครงสร้างแบบเส้นของโมเลกุลที่เกิดขึ้นได้ ดังรูปที่ 2.3 และเรียกสารที่เกิดขึ้นว่า
สารประกอบโคเวเลนต์
คลอรีน 1 อะตอมจะมีจำนวนวาเลนซ์อิเล็กตรอน 7 ตัว ถ้ามีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกับ
คลอรีนอีก 1 อะตอม จะทำให้มีการใช้อิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกัน เกิดแรงยึดเหนี่ยวหรือพันธะ
ขึ้น โดยคลอรีนตัวแรกมีการดึงอิเล็กตรอนจากคลอรีนตัวที่สองเข้าร่วมอีก 1 ตัว ทำให้คลอรีนตัว
แรกมีจำนวนอิเล็กตรอนล้อมรอบครบ 8 ตัว ในทำนองเดียวกันคลอรีนตัวที่สองก็สามารถถึง
อิเล็กตรอนจากคลอรีนตัวแรกจำนวน 1 ตัว เช่นกัน จึงทำให้คลอรีนตัวที่สองมีจำนวนอิเล็กตรอน
ล้อมรอบครบ 8 ตัว จะเห็นได้ว่ามีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งสามารถแสดงด้วยโครงสร้างแบบ
จุดและโครงสร้างแบบเส้นของโมเลกุลที่เกิดขึ้นได้ ดังรูปที่ 2.3 และเรียกสารที่เกิดขึ้นว่า
สารประกอบโคเวเลนต์
รูปที่ 2.3 แสดงสารประกอบโคเวเลนต์ของคลอรีน โดยการเขียนโครงสร้างแบบจุด
และโครงสร้างแบบเส้น
และโครงสร้างแบบเส้น
จากรูปด้านบนเราจะเห็นว่าคลอรีนตัวแรกมีการใช้อิเล็กตรอนกันกับคลอรีนตัวที่
สองอยู่ เพียง 1 คู่
เท่านั้นโดยที่แต่ละอิเล็กตรอนจะมาจากคลอรีนแต่ละตัวจึงทำให้เกิดพันธะโค
เวเลนต์เพียงหนึ่งพันธะขึ้นมาอิเล็กตรอนคู่ที่อะตอมทั้งสองใช้ร่วมกันเรียก
ว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น